วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

เปรียบเทียบความแตกต่างค่า PR Website



เว็บไซต์ที่มีค่าPRสูง คือ www.nike.com







เว็บไซต์ที่มีค่าPRน้อย คือ www.teddyhouse.com


วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ZMOT

ZMOT

ZMOT คืออะไร? คำนิยามด้านการตลาดใหม่โดย Google


“Think with Google” เป็นหนึ่งในโครงการของ Google ที่จะนำเรื่องราวในแวดวงธุรกิจออนไลน์และเทรนด์ต่างๆ มาเผยแพร่ให้บุคคลภายนอกได้ศึกษากัน ไม่ว่าจะเป็นบทสัมภาษณ์ของผู้นำทางความคิด นำเสนอกรณีศึกษา หรือข้อมูลต่างๆ ที่น่าสนใจเพื่อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการในการวางแผนธุรกิจ
จริงๆ วันนี้สิ่งที่จะเล่าไม่ได้เกี่ยวกับ Think with Google หรอกค่ะ แต่เป็นหนึ่งในหัวข้อที่ ถูกนำมาเผยแพร่ในนี้มีชื่อว่า “ZMOT หรือ Zero Moment of Truth” คำนี้อาจไม่คุ้นหูในบ้านเราเสียเท่าไหร่นัก และหลายคนก็อาจสงสัยว่ามันคืออะไรกันแน่นะ? ดังนั้นขอเล่านิยามความหมายของช่วงเวลาต่างๆ ออกมาตามประสบการณ์ของลูกค้าก่อน ดังต่อไปนี้

Stimulus  เป็นช่วงเวลาที่ได้เห็นโฆษณาผ่านเข้ามา
  FMOT หรือ First Moment of Truth เป็นคำที่ถูกนิยามไว้ตั้งแต่ปี 2005 โดย Procter & Gamble (P&G) ว่าเป็นชั่วขณะที่ผู้ซื้อมีปฏิสัมพันธ์กับหน้าร้านและเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจซื้อ
SMOT หรือ Second Moment of Truth เป็นช่วงเวลาที่ลูกค้าซื้อสินค้าไปแล้ว และมีประสบการณ์ในการใช้งานสินค้าดังกล่าว เค้าเหล่านั้นอาจจะมาเขียนรีวิวแบ่งปันข้อมูลบนเว็บไซต์ก็เป็นได้
และจากรูปเราจะเห็นว่าช่วงเวลาที่โผล่ขึ้นมาก่อนหน้า FMOT จะถูกเรียกว่า ZMOT ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกค้าจะมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ก่อนหน้าที่จะไปถึงร้านค้าจริง อย่างการ เริ่มค้นหาข้อมูลสินค้าที่ตัวเองสนใจ เช่น การดูรีวิว, เรตติ้ง จากเว็บไซต์ และ Social Media ต่างๆ ดูวิดีโอคลิปจาก YouTube หรือแม้กระทั่งการสแกน Barcode จากโทรศัพท์แล้วเปิดอ่านรีวิวกันตรงๆ เลย แรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เกิด ZMOT คือ การเติบโตของอินเทอร์เน็ตและเครื่องมือที่ใช้เชื่อมต่ออย่างสมาร์ทโฟนนั่นเอง (จากสถิติกว่า 79% ของชาวสหรัฐฯ กล่าวว่าพวกเขาใช้สมาร์ทโฟนในการซื้อของ)
ใครๆ ก็อยากแน่ใจก่อนว่าของที่ตัวเองซื้อเป็นของดี แหล่งที่หาข้อมูลได้ง่ายและสะดวกที่สุดย่อมไม่พ้นอินเทอร์เน็ตและนี่คือสิ่งที่ Google ต้องการชี้ให้เห็นว่ามันเป็นช่วงเวลาสำคัญ ที่นักการตลาดในยุคปัจจุบันควรให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
ตัวอย่างสถิติในสหรัฐฯ ปีที่ผ่านมา ZMOT เป็นช่วงเวลาที่มีอิทธิพลในหลายๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตามกลุ่มสินค้าพวก
ที่ต้องลองและสัมผัสโดยตรงอย่างธุรกิจสุขภาพ ความงาม FMOT จะยังมีอิทธิพลสูงกว่า, หรือสินค้าอุปโภค บริโภคทั่วไปที่เราใช้กันประจำ ZMOT จะยังไม่มีอิทธิพลสูงมากนัก ในขณะที่่ธุรกิจยานยนต์ทั้ง ZMOT และ FMOT ยังมีส่วนสำคัญใน
การตัดสินใจทั้งคู่
ส่วนตัวผู้เขียนไม่ได้รู้สึกว่า ZMOT เป็นของใหม่ (อารมณ์แบบเหล้าเก่าในขวดใหม่) เราคุ้นชินกับมันมาสักพักแล้วค่ะ 
 แต่ไม่ได้นิยามช่วงเวลาดังกล่าวออกมาให้ชัดเจน
ซึ่งแน่นอนว่าการชี้ให้เห็นความสำคัญโดย Google ในครั้งนี้เป็นการสนับสนุนผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของ Google ที่เป็นเสมือน 
Marketing Tool ไปกลายๆ ตั้งแต่การตลาดผ่านเครื่องมือค้นหา (Search Engine Marketing: SEM) , ถ้าทันสมัยขึ้นมาหน่อยก็ Google+ ที่แม้จะยังเจาะกลุ่มธุรกิจไม่ได้เต็มตัวเหมือน Facebook แต่ความพยายามของ Google กับผลิตภัณฑ์ตัวนี้ยังมีให้เห็นอีกไกลแน่นอน นี่ยังไม่นับรวมถึงโครงการอื่นๆ ของ Google ที่เกี่ยวข้องกับ ZMOT ได้ทั้งนั้นอย่าง Google Offers (Group Buying) หรือ Google Goggles อ่านรีวิวสินค้าจากโทรศัพท์หลังจากสแกนสินค้าเสร็จ เป็นต้น
ในอีกด้านหนึ่งผู้เขียนก็เห็นด้วยว่า ZMOT เป็นสิ่งที่นักการตลาดที่ดูแลแม้แต่สินค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับออนไลน์โดยตรงก็ควรต้องเริ่มหันมาให้ความสนใจเพราะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะถ้าจะเจาะกลุ่ม Digital Natives (เกิดและเติบโตมาพร้อมกับยุคไอที) ZMOT จะมีอิทธิพลต่อคนกลุ่มนี้เป็นอย่างมาก
และแม้แบรนด์ไม่เข้าหา แต่การพูดคุยของผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ก็ยังคงดำเนินต่อไปอยู่ดีค่ะ (ไม่สามารถห้ามได้) ดังนั้นเราก็จะไม่มีทางรู้เลยว่าผู้บริโภคมองเราอย่างไร และมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจกับกลุ่มลูกค้ารายใหม่ของเราอย่างไร
และอย่าได้กลัวกับรีวิวที่เป็นเชิงลบหรือถูกโจมตีจนทำให้แบรนด์ไม่กล้าเข้ามาสู่โลกออนไลน์อีกเช่นกัน เพราะจริงๆ แล้วเป็น
เรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกแบรนด์ แต่ถ้าเรารู้วิธีในการจัดการ, สร้างความสัมพันธ์อันดีและจริงใจกับลูกค้าเสมอ จะเปลี่ยนจากวิกฤตเป็นโอกาส และซื้อใจลูกค้าได้เอง
คำถามที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ แล้วในบริษัทมีผู้ที่ดูแลประสบการณ์ลูกค้าในช่วง ZMOT แล้วหรือยัง นอกจากจะเป็นช่วงที่มีอิทธิพลต่อการขายแล้ว , ความคิดเห็น รีวิวต่างๆ ที่มาจาก  SMOT ถูกส่งต่อไปให้กับลูกค้ารายใหม่ที่ยังอยู่ในช่วง ZMOT จะมีประโยชน์กับแบรนด์ในแง่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไปอีกด้วย
ปิดท้ายกันด้วยตัวอย่างบทความการวางแผนธุรกิจในแต่ละช่วง (สำหรับตัวอย่างนี้เป็นธุรกิจยานยนต์) โดยแยกออกมาเลยว่าช่วง ZMOT, FMOT, SMOT ธุรกิจควรต้องปรับปรุงอะไรบ้าง และเมื่อเรามีหัวข้อตั้งต้นแล้วก็นำแผนกลยุทธ์นี้ไปแตก
เป็นประเด็นเพื่อทำงานตามแผนกันต่อไป

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

"Online Business with Google"

1.สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการรับฟัง ลงใน Web Blog ของ น.ศ.
ระบบสังคมออนไลน์ต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการระหว่างกันในการเลือกสินค้าและบริการ ด้วยการนำ ZMOT มาใช้ ZMOT ซึ่ง คือการเติบโตของอินเทอร์เน็ตและเครื่องมือที่ใช้เชื่อมต่ออย่างสมาร์ทโฟนซื่งจะมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
ZMOD ย่อมาจาก Zero Moment of Truth จุดก่อนกำเนิดของกระบวนการคิดและกระบวนการซื้อสินค้า
ผู้ดำเนินธุรกิจต้องประยุกต์มาใช้ดิจิตอล 3.0 ที่สามารถค้นเจอบนหน้าของการค้นหาของ Google ได้ ซึ่งการค้นหาพบได้นั้นจะต้องมีปัจจัยประกอบดังนี




1 Get your business online คือ การเข้ามามีตัวตนบนโลกออนไลน์ การสามารถค้นพบได้ด้วย Search Engine ซึ่งให้เราอยู่ในผลการค้นหาได้ โดยส่วนใหญ่จะใช้ Google ในการค้นหา ซึ่งการค้นพบเป็นลำดับแรกๆจะต้องอาศัยค่า Page rang คือข้อมูลและจากจำนวนการเข้าชม ซึ่งจะเป็นค่าสะสมไว้ในการค้นหา
2. Be found – when customer is searching คือ การสามารถค้นพบได้จากการค้นหาเป็นลำดับแรกๆ ซึ่งอาจเป็นการค้นหาเจอได้โดยทั่วไปซึ่งจะต้องทำให้ค่า Page rang สูง หรือการค้นหาเจอโดยการซื้อตำแหน่งคำค้นหา หรือการโฆษณาโดยตัวค้นหาหรือ Google Adwords ซึ่งผู้ซื้อจะมีค่าใช้จ่ายทุกครั้งลูกค้าคลิกเข้าไป
3 Be reached – show where you are คือ การสามารถค้นหาเจอได้จากแผนที่อาจผ่านทาง Google maps เพื่อระบุตำแหน่งของห้างร้านคุณ
4 Get closer to your customers คือ การใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น โดยการผ่านทาง Google plus ทำให้เสนอข้อมูลและคุยกับลูกค้าได้ ซึ่งปัจจุบัน Googleสร้างพื้นการสนทนาแบบ Rail Conversations คือการคุยผ่าน วีดีโอConference นั่นก็คือ Google plus Hangouts เป็นการเปิดพื้นที่ในการสนทนาหลายคนพร้อมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือการนำเสนอสินค้าได้ ตลอดจนการเรียกเอกสารขึ้นมาดูหรือใบเสนอราคามาใช้ได้ อีกทั้งยังสามารถเผยแพร่ออกไปให้ผู้อื่นรับชมได้คล้ายถ่ายทอดให้รับชม
5. Increase your performance คือ การสร้างรายงาน โดย Google narcotic เพื่อวัดการเข้าดูแบบทันทีทันใดในขณะนั้น การตรวจสอบรายละเอียดของผู้เข้าชมเพื่อวัดประสิทธิภาพของเว็บไซต์
6. Engage your customer anywhere anytime คือ การค้นหาบนมือถือไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถเข้าถึงโฆษณาเราได้ ซึ่งต้องออกแบบให้เป็น Mobile siteเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้
7. Go Global (AEC) คือ การเข้าถึงได้ทั่วโลก คือ Google มีความสามารถในการช่วยในด้านภาษาก็สามารถช่วยในการแปลภาษาให้เข้าใจระหว่างกันได้ ทำให้ภาษไม่เป็นอุปสรรคในการสื่อสารด้วย Google translate


2.หาคำศัพท์ที่ได้จากการรับฟังพร้อมหาความหมายเพื่ออธิบายคำศัพท์ดังกล่าว อย่างน้อย 20 คำ
แล้วสรุปใน Web Blog

1.mobile Site เปรียบเทียบกับการโฆษณาบน website ทั่วไปนั้น คือความไม่แออัด ของโฆษณา เนื่องจากปกติแล้วในแต่ละ mobile site จะมี banner โฆษณาเพียงหนึ่งชิ้นต่อหน้า แต่บน website ทั่วไปมักจะมีหลายโฆษณา รูปแบบการโฆษณาผ่านมือถือ
2.Search engine optimization (SEO) แปลว่า "การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในเสิร์จเอนจิน" คือ กระบวนการที่ทำให้เว็บไซต์ หรือ ชื่อเว็บไซต์ ปรากฏอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดของผลการค้นหาผ่าน เว็บเสิร์ชเอนจิน
3.Engage คือ การประกอบ
4.Google adwords เป็นการค้นหาให้เป็นลำดับแรกๆโดยการโฆษณาให้เป็นลำดับแรกจากการค้นหา เมื่อผู้เข้าชมคลิกทุกครั้งผู้ที่จ้างก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายทุกครั้งที่มีการคลิก
5.Rail time คือ การทำงานแบบตอบสนองทันทีทันใด
6.Moment คือ การดำเนินการในขณะนั้น
7.Performance คือ การปฏิบัติ
8.Search คือ การค้นหา
9.Increase คือ การเพิ่มขึ้น
10.Be found คือ การค้นพบ
11.Conversations คือ การสนทนา
12.Global คือ ความทั่วถึง การเข้าถึงทั่วโลก
13.segment คือ ส่วนประกอบ
14.First Moment of Truth คือ เมื่อเข้าไปในสโตร์ แล้วสามารถเห็นสินค้าทันที
15.Street view คือ มุมมองที่เสมือนจริง
16.Second Moment of Truth คือ การที่เราใช้สินค้า แล้วรู้สึกว่าสินค้านี้ตอบโจทย์ ตอบความคาดหวังของเรา
17.Success คือ ประสิทธิผล การประสบความสำเร็จ
18.Natural Result คือ ผลที่ได้ออกมาตามธรรมชาติ
19.Page Rang คือ หน้าหลักของเว็บไซต์นั้นๆ ที่ใช้ในการติดต่อ
20.Map คือ แผนที่

ค่ะ

การทำธุรกิจและการตลาด

ความรู้ที่ได้จากการรับฟังการทำธุรกิจและการตลาดในยุคดิจิทัล3.0"สำหรับผู้ ประกอบการที่สนใจและต้องการเพิ่มศักยภาพธุรกิจด้วย Digital Marketing

การตลาดยุคใหม่การสร้างค่านิยมในจิตใจของผู้บริโภค การช่วยเหลือการตัดสินใจการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ทำให้สินค้าเข้าถึงผู้บริโภคอย่างเร็วที่สุดอย่างดีที่สุด รวมถึงการสะท้อนความคิดเห็นของผู้บริโภคให้เป็นเเรงผลักดันในการผลิตสินค้าหรือตัวผลิตภัณฑ์เนื่องจากเทคโนโลยี ในการผลิตสินค้า หรือกลยุทธ์ในการเข้าถึงผู้บริโภค ของผู้ผลิต ดังนั้นไม่ได้แตกต่างกันมากในยุคปัจจุบันนี้ สิ่งที่สร้างความแตกต่าง สร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันนั้นเราต้องเข้าถึงผู้บริโภคแบบ 3 แบบได้แก่
1.เข้าใจถึงหตุผล
2.เข้าใจถึงอารมณ์
3.เข้าใจถึงจิตวิญญานของผู้บริโภค

คำศัพท์ 20 คำ
1.Earned media หมายถึง สื่อที่ลูกค้าภายนอกเป็นผู้สร้างขึ้นมา โดยพูดถึง สนับสนุนสินค้าและแบรนด์ ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ลูกค้ามีส่วนร่วมและพัฒนาภายใต้ความรู้สึกนึกคิดและอัตตาของตนเอง ถือเป็นช่องทางที่ให้ลูกค้าได้สร้างสรรค์และแสดงทัศนคติต่อแบรนด์อย่างชัดเจน

2.Social media คือโครงข่ายการสร้าง Media ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยคนที่สร้างสื่อใช้ความสามารถในการเข้าถึงได้ง่ายของอินเตอร์เน็ท ความจริงแล้วเกิดขึ้นเพราะความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ในสังคมที่ต้องการการปฎิสัมพันธ์ติดต่อสื่อสารกันและต้องการความเห็นกัน


3.Digital marketing การส่งเสริมการตลาดอีกวิธีหนึ่ง เป็นการสร้างแบรนด์ผ่านสื่อดิจิตอล เช่น อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ หรือช่องทางสื่ออื่น ๆ ที่เป็นแบบ สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ในทันที เป็นวิธีทำการตลาดวิธีหนึ่งที่สามารถบริหารค่าใช้จ่ายในการทำการตลาดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

4.Change of marketing คือการเปลี่ยนแปลงของการตลาดตามค่านิยมโดยปัจจุปันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

5.Relationship Marketing คือตลาดมุ่งเน้นความสัมพันธ์การตลาดแบบมีความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า การบริการมีส่วนสำคัญในการตลาดแบบมุ่งเน้นความสัมพันธ์ การสร้างมิตรจิตมิตรใจหรือไมตรีจิตผ่านการบริการนั้น จะเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์แบบใกล้ชิด

6.Involvementคือการทำให้ผู้บริโภคเกิดมีส่วนร่วมกับธุรกิจ สามารถออกแบบแสดงความคิดเห็นถึงตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ได้

7.Commitmentคือเมื่อชอบแล้วมีการบอกต่อให้กับผู้บริโภคคนอื่น

8.Trialคือมีการให้ลูกค้าทดลองสินค้า แล้วเกิดความชอบสินค้าของธุรกิจ

9.Transaction Marketing คือตลาดการซื้อขายเปรียบได้กับการซื้อมา ขายไป การแลกเปลี่ยนแบบมีสถานที่ หรือตลาดคงที่ สามารถจับต้องได้

10.Awarnenessคือการตรหนักที่ทำให้ผู้บริโภครู้จัก ตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์

11.Owened media คือเป็นสื่อเว็บไซต์ที่เราเป็นเจ้าของสื่อนี้เองบนโลกออนไลน์

12.Entertainment Value คือต้องมีการแบ่งบันข้อมูลการโฆษณาทางธุรกิจ ระหว่างผู้บริโภคด้วยกันโดยที่สามารถสร้างความสุขความบันเทิงให้ลูกค้ามีความสุข ประทับใจธุรกิจ

13.Referralคือต้องทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจในสินค้า และกล้าแนะนำให้ผู้บริโภคคนอื่นที่ไม่รู้จักมาใช้สินค้าหรือบริการนั้นๆ

14.Collaborative Marketing คือความสัมพันธ์การตลาดการร่วมกลุ่มกันทำการตลาด ลูกค้ามีส่วนช่วยในการโฆษณา ออกความคิดเห็นในการปรัปเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์

15.Publisherคือการกระจายข่าวด้วยสังคมออนไลน์โดยใช้สื่อกลางเป็นเครือข่าย ได้ง่ายอย่างรวดเร็วและในวงกว้าง

16.Reviewerคือนักวิจารณ์แสดงความคิดเห็นและสะท้อนกลับถึงข้อมูลสินค้าและบริการให้กับธุรกิจ

17.Social Media คือเจ้าของธุรกิจเป็นผู้ติดต่อกับลูกค้าโดยตรง เสนอข้อดีของธุรกิจให้กับผู้บริโภค

18.Identityคือเอกลักษณ์เฉพาะตัวการมีรูปแบบที่เรียบง่ายน่าจดจำ จำง่าย

19.Conversationคือการสื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ หรือผ่านสังคมออนไลน์

20.Mass marketing คือ กาตลาดที่ใช้การสื่อสารมวลชนเพื่อลดต้นทุนการผลิตในการผลิตและโฆษณาประชาสัมพันธ์ตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์

การประกอบธุรกิจแบบ E-commerse ทั้งสำเร็จ และไม่สำเร็จ

แบบ E-commerce ที่ไม่ประสบผลสำเร็จ

1. ทำเว็บไซต์ให้มีลักษณะสวยงามน่าสนใจแต่ไม่ได้คำนึงถึงตัวสินค้าว่าลูกค้าสนใจอะไรทำให้การเข้าดูข้อมูลช้าไปหมดเพราะหน้าเว็บรกไปด้วยการตกแต่งรูปภาพใช้เนื้อที่ในการสร้างเว็บมากเกินส่งผลให้การทำงานช้า

2.การลอกเลียนแบบ เป็นการทำธุรกิจตามคนอื่นที่ทำอยู่ก่อนแล้ว เห็นทำเว็บก็ทำตามทำตามทุกอย่าง ไม่มีส่วนไหนที่เป็นข้อแตกต่างข้อได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่ง

3.ทำเว็บไซต์แบบไร้ทิศทางการทำเว็บไซต์ที่นึกอะไรได้ก็ทำไปเรื่อยเปื่อยอย่างไม่มีจุดหมายปลายทาง ไม่ได้นึกถึงความความสัมพันธ์กัน อันจะก่อให้เกิด คุณค่าสูงสุดแก่ผู้ใช้งาน การทำเว็บไซต์ที่ดีนั้น หลักการคือต้องทำให้เกิดการเสริมกัน คือทุกอย่างต้องเกื้อหนุนและมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน หรือในลักษณะครบวงจร มาที่นี่ที่เดียวได้ครบหมดทุกอย่าง

4.คิดเล็กเกินไป การดำเนินธุรกิจบนเว็บทำให้โครงการที่ทำออกมาไม่สามารถที่จะต่อยอดและขยายตัวออกไปได้ ทำให้ไม่สามารถจะสร้างยอดขายจำนวนมากให้คุ้มทุนได้ ทั้งนี้เพราะตลาดบนเว็บนั้นมันมีขนาดใหญ่มหาศาล ดังนั้นต้องคิดการใหญ่ มีการกำหนดทิศทางที่จะเติบโตไว้


แบบ E-commerce ที่ประสบผลสำเร็จ

1.ขาดบุคคลากรที่มีความรู้ การนำเสนอข้อมูลที่ขาดรายละเอียด บางครั้งมีลูกค้าอีเมล์มาสอบถามเพิ่มเติม แต่บางเว็บไซต์ไม่ได้ตั้งบุคคลากรเพื่อดูแลปัญหานี้ หรือขาดความรู้ในการเข้าถึงเทคโนโลยีมีผู้ประกอบการหลายราย เปิดเว็บไซต์แล้ว ไม่ได้ตรวจอีเมล์ บางครั้งอาจจะตอบช้าเกินไป

2.ขาดการวางแผนตลาดรองรับ การมีเว็บไซต์เป็นเสมือนการเปิดร้านแห่งหนึ่งขึ้นบนโลกไซเบอร์ ซึ่งวันหนึ่งๆ มีเว็บเกิดขึ้นเป็นหมื่น หากไม่มีการวางแผนประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายรู้จัก ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ หลายเว็บเกิดขึ้นมาแบบขาดการวางแผน เห็นธุรกิจอื่นมีเว็บกัน ก็แค่อยากมีกับเขาบ้าง

3.หลงเทคโนโลยี การสร้างเว็บไซต์ บางครั้งผู้ประกอบการมักหลงใหลกับความงามของกราฟฟิก ใส่ภาพเคลื่อนไหว เสียงประกอบต่างๆ เข้าไป เพื่อหวังจะเรียกร้องความสนใจของผู้เข้าชม โดยลืมไปว่าสิ่งเหล่านี้ต้องทำให้ผู้ซื้อสินค้าเสียเวลาโหลดนานมากกว่าที่จะ ได้ดูสินค้าแต่ละหน้า

4.หลงเทคโนโลยี การสร้างเว็บไซต์ บางครั้งผู้ประกอบการมักหลงใหลกับความงามของกราฟฟิก ใส่ภาพเคลื่อนไหว เสียงประกอบต่างๆ เข้าไป เพื่อหวังจะเรียกร้องความสนใจของผู้เข้าชม โดยลืมไปว่าสิ่งเหล่านี้ต้องทำให้ผู้ซื้อสินค้าเสียเวลาโหลดนานมากกว่าที่จะ ได้ดูสินค้าแต่ละหน้า

สรุปเรื่อง SO LO MO

1."SO LO MO" Social Media Location คือ สังคม แต่ไม่ใช่สังคมธรรมดา แต่เป็นสังคมออนไลน์ที่อยู่ในแอปพลิเคชั่นของ SmartPhone ที่ได้ถูกพัฒนา Application บนมือถือเพื่อรองรับการเติบโตของตลาดออนไลน์ในอนาคต จะสังเกตุได้จากบนรถไฟฟ้าหรือตามสถานที่ต่าง ๆ จะมีคนใช้โทรศัพท์กันมากขึ้นแต่ไม่ใช่โทรศัพท์คุยนะค่ะ แต่เป็นในลักษณะเลื่อนหน้าจอเพื่อค้นหาข้อมูล อัพเดทสถานะหรือแม้แต่พูดคุยกับเพื่อนออนไลน์ ก็จะเห็นได้ว่าอัตราการเติบโตบนโลกอินเทอร์เน็ตมีมากขึ้นทุกวัน ทั้งจำนวนผู้ใช้งานทั่วโลกและจำนวนผู้ที่เข้ามาใช้ Application ต่าง ๆ ผู้บริโภคมีสิทธิ์ที่จะเลือกได้มากขึ้น เพราะผู้ประกอบการรวมถึงเจ้าของบริษัทห้างร้านต่าง ๆ จะต้องพยายามทำทุกวิธีทางเพื่อให้ผู้บริโภคได้เห็นหน้าเว็บไซต์ของตัวเองปรากฏอยู่ในมือของผู้บริโภคให้มากที่สุด และยิ่งมากเท่าไหร่โอกาสที่จะได้เขามาเป็นลูกค้าของเราก็มากขึ้น

2. ZMOT หมายถึง เจ้าของหรือลูกค้าที่ได้ลองใช้สินค้านั้นๆ แล้วนำสรรพคุณมาโพสต์ในเว็บไซต์เพื่อเป็นการดึงดูดโฆษณาให้ผู้ที่สนใจได้ลองเข้ามาดูสินค้านั้นๆ ก่อนที่จะตัดสินใจสั่งซื้อทางเว็บไซต์หรือไปที่ร้านค้าจริง เนื่องจาก การเติบโตของโลก Social Network และเครื่องมือที่ใช้เชื่อมต่ออย่างเป็น SmartPhone แหล่งข้อมูลที่หาได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น